เจ้าของร้าน

รูปภาพของฉัน
นครศรีธรรมราช, นครศรีธรรมราช, Thailand
ขายปลีก-ส่งกุ้งสวยงาม ปลาคาร์ฟ นกแก้วสายพันธุ์ริงค์เน็ค นกกระตั้ว นกแก้วนอก เม่นแคระและพันธุ์ไม้น้ำ ครับ รับส่งตจว.นะครับ

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปลาคาร์ฟ (Fancy Carp)




ปลาคาร์พ


ปลาคาร์พ หรือปลาแฟนซีคาร์พ (Fancy Carp) นับเป็นปลาที่สวยงามชนิดหนึ่ง ซึ่งได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมันเลี้ยงง่าย โตไว อีกทั้งยังมีสีสันสวยงามอีกด้วย และเป็นปลาที่มีอายุยืนที่สุดในโลก เช่น ปลาคาร์พ ชื่อ "ฮานาโกะ" ของนายแพทย์ผู้หนึ่ง ที่ เมืองกูฟี ประเทศญี่ปุ่น มีอายุยืนถึง 266 ปี

ทั้งนี้ ปลาคาร์พ จัดอยู่ในประเภทปลาน้ำจืดกลุ่มปลาตะเพียน (Carp) ชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า โต่ย (Koi) นิชิกิกอย (Nichikigoi) มีต้นกำเนิดมาจากปลาไนธรรมดา ซึ่งพบในแหล่งน้ำจืดต่างๆ ทั่วโลก สำหรับถิ่นกำเนิดที่แท้จริงก็คือ ประเทศอิหร่านในปัจจุบัน แต่ชาวจีนเป็นกลุ่มแรกที่ได้ศึกษาเรื่องปลาไนมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว

ส่วนประเทศญี่ปุ่นได้ศึกษาเกี่ยวกับปลาคาร์พ เมื่อประมาณ 200 ปี หลังคริสต์ศตวรรษ โดยกล่าวถึงปลาชนิดนี้ว่ามีสีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน ซึ่งชาวญี่ปุ่นนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น และได้พัฒนาสายพันธุ์ดั้งเดิมของปลาไน ให้เป็นปลาสวยงาม มีสีสันและรูปร่างที่สวยงามขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน โดยเรียกว่า ปลาคาร์ฟ หรือ แฟนซีคาร์ฟ โดยมีแหล่งหรือศูนย์กลางการเพาะเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์ฟ บริเวณเขาแถบเมืองโอจิยะ จังหวัดนิอิกาตะ และเมืองฮิโรชิมา

สำหรับประเทศไทยได้เริ่มนำเข้าปลาคาร์ฟเมื่อปี พ.ศ.2493 โดยการนำมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการซื้อขายในราคาที่ค่อนข้างสูง ในปี พ.ศ.2498 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ทรง สั่งปลาชนิดนี้มาจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำมาเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์และตั้งชื่อปลาแฟนซีคาร์ฟนี้ว่า ปลาอมรินทร์ หรือบางทีก็เรียกว่า ปลาไนทรงเครื่อง ซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า นิชิกิกอย (Nichikigoi)

ประเภทของปลาคาร์พ

ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาแฟนซีคาร์พขึ้นใหม่ในเชิงการค้าทั้งหมด 13 สายพันธุ์หลัก โดยแบ่งแยกตามลักษณะของลวดลายและสีสันบนตัวปลา ได้แก่

1. โคฮากุ (Kohoku) เป็นปลาที่มีลายขาวและแดง เป็นสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุด ลักษณะที่ดีสีแดงจะต้องคมชัดสม่ำเสมอ และสีขาวไม่ควรมีตำหนิใดๆ

2. ไทโช ซันเก้ (Taisho Sanke) ประกอบ ด้วย 3 สีด้วยกัน คือ ขาว แดง และดำ สีดำบนตัวปลานั้นควรดำสนิท และดวงใหญ่ ไม่ควรมีสีดำบนส่วนหัว รวมทั้งไม่มีสีแดงบนครีบและหาง

3. โชวา ซันโชกุ (Showa Sanshoku) เป็น แฟนซี คาร์พสามสี เช่นเดียวกับไทโช ซันเก้ ที่แตกต่างกันก็คือ สีขาวและแดงจะรวมตัวอยู่บนพื้นสีดำขนาดใหญ่ และมีสีดำบริเวณเชื่อมต่อครีบ และลำตัวในลักษณะของตัว Y

4. อุจิริ โมโน (Utsuri Mono) เป็นแฟนซีคาร์พ ที่มีสีดำพาดผ่านบนพื้นสีอื่น โดยสีดำที่ปรากฏจะเป็นรอยปื้นยาวพาดบนตัวปลา

5. เบคโกะ (Bekko) เป็นแฟนซี คาร์พ ที่มีสองสี โดยมีลวดลายเป็นจุดดำแต้มอยู่บนพื้นสีต่างๆ ในขนาดที่ไม่เล็ก หรือใหญ่เกินไป

6. อาซากิ ชูซุย (Asagi Shusui) อาซากิ ชูซุย เป็นสายพันธุ์ที่ถ่ายทอดมาจากปลาไนโดยตรง จะมีเกล็ดสีฟ้าสวยเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ

7. โกโรโมะ (Koromo) เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างอาซากิกับสายพันธุ์อื่นๆ โดยจะมีเกล็ดสีน้ำเงินกระจายเด่นอยู่บนลวดลาย

8. โอกอน (Ogon) เป็นปลาที่ไม่มีลวดลาย โดยจะมีสีลำตัวสว่างไสว ปราศจากจุดด่างใดๆ

9. ฮิการิ โมโย (Hikari Moyo) เป็นปลาที่มี 2 สี หรือมากกว่า โดยจะมีอย่างน้อยหนึ่งสีที่แวววาวดุจโลหะ (Metallic)

10.ฮิการิ อุจิริ (Hikari Utsuri) เป็นปลาที่มีลาดยพาดสีดำเช่นเดียวกับ อุจิริ โมโน บนพื้นที่มีความแวววาวคล้ายโลหะ

11. คินกินริน (Kinginrin) เป็นปลาที่อยู่ในกลุ่มที่มีประกายเงินหรือทองอยู่บนเกล็ด โดยเกล็ดจะดูนูนเหมือนไข่มุก

12. ตันโจ (Tancho) เป็นปลาที่มีสีแดงเพียงที่เดียวอยู่บนหัว โดยอาจมีรูปทรงกลมขนาดใหญ่ หรือรูปอื่นๆก็ได้

13. คาวาริ โมโน (Kawari Mono) เป็นปลาที่ไม่มีลักษณะลวดลายที่ตายตัว ต่างจากพันธุ์อื่นๆ โดยจะมีลวดลายเกิดขึ้นใหม่ทุกปี

การเริ่มต้นเลี้ยงปลาคาร์พ

ใครที่ตัดสินใจจะเลี้ยงปลาคารพ์ ควรเริ่มต้นด้วยการขุดบ่อขนาด 80 x 120 ลึก 50 เซนติเมตร มีสะดือที่ก้นบ่อขนาด 1 x 2 ฟุต ลึกประมาณ 4-6 นิ้ว เพื่อไว้เป็นที่เก็บขี้ปลาและสิ่งสกปรก และติดตั้งระบบถ่ายเทน้ำเสียเพื่อช่วยให้น้ำในบ่อสะอาดอยู่ตลอดเวลาด้วย สำหรับบ่อที่จะใช้เลี้ยงปลาคาร์ฟ ควรเป็นบ่อซีเมนต์เพราะสามารถดัดแปลงเป็นบ่อธรรมชาติได้ง่าย มีตะใคร่น้ำเกิดและเกาะได้เร็ว ซึ่งตะใคร่น้ำนั้นจะเป็นอาหารที่ดีของปลาและสามารถดูดสิ่งสกปรหและแอมโมเนียที่อยู่ในน้ำได้อีกด้วย

และบ่อนี้ควรจะตั้งอยู่ในที่มีร่มเงาต้นไม้ใหญ่ได้ร่มรื่นพอควร อย่าให้อยู่กลางแจ้งเพราะจะทำให้ปลามีสัสันที่จืดจางลง และยังโตช้าลงไปอีกด้วย

ส่วนน้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาคาร์พ เป็นน้ำประปาจะดีกว่าน้ำชนิดอื่น เพราะน้ำประปามีสภาพเป็นกลาง ถ้าใช้น้ำฝนจะทำลายสีของปลาและปลาอาจเกิดโรคได้ง่าย ส่วนน้ำจากแม่น้ำลำคลองก็ไม่เหมาะ เพราะอาจมีเชื้อโรคติดมาเป็นอันตรายกับปลาได้ หากไม่มีน้ำประปา ต้องใส่ยาฆ่าเชื้อและเติมปูนขาวเพื่อปรับสภาพน้ำจากกรดให้เป็นกลางเสียก่อน แล้วค่อยนำมาเลี้ยงปลาได้ ทางที่ดีต้องติดตั้งระบบหมุนเวียนของน้ำ และเครื่องพ่นน้ำ เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้น้ำในบ่อถ่ายเทอยู่ตลอดเวลา และมีออกซิเจนเพียงพอกับปลาด้วย

เมื่อเตรียมบ่อและน้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การจะหาปลาคาร์ฟมาเลี้ยง ควรหาลูกปลาที่มีอายุ 1-2 ปี มาเลี้ยง ไม่ควรจะนำปลาขนาดใหญ่มาเลี้ยง และปลาชนิดอื่นหากไม่จำเป็นไม่ควรนำมาเลี้ยงรวมกับปลาคาร์ฟ เพราะอาจนำเชื้อโรคมาให้ปลาคาร์ฟได้

อาหารและการเลี้ยงดู

ผู้เลี้ยงควรให้อาหารไม่เกินวันละ 2 เวลา คือเช้ากับเย็น ข้อควรจำในการให้อาหารคือ ต้องให้ตามเวลา เพื่อปลาจะเกิดความเคยชินและเชื่องกับผู้ที่เลี้ยง และอาหารที่ให้ต้องกะให้พอกับจำนวนปลา อย่าให้น้อยหรือมากเกินไป ทั้งนี้ต้องคอยสังเกตว่า ปลากินอาหารอย่างไร? ถ้าอาหารหมดเร็ว แสดงว่าปลายังต้องการอาหารเพิ่ม ก็เพิ่มลงไปอีเล็กน้อย แต่ถ้าอาหารยังลอบน้ำอยู่ ก็รีบตักออกเพราะว่าถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้น้ำเสียเร็ว

สำหรับอาหารที่ให้ แนะนำเป็นเนื้อปลาป่น กุ้งสดบด เนื้อหอย เนื้อปู ปลาหมึก ข้าวสาลี รำ ผักกาด ข้าวโพด แมลง สาหร่าย ตะใคร่น้ำ แหน ลูกน้ำ หนอนแดง ถั่วเหลือง ขนมปัง และอาหารสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาด

ทั้งนี้ เมื่อสังเกตเห็นน้ำในบ่อเริ่มขุ่นและมีสิ่งสกปรกมาก ต้องรีบเปลี่ยนน้ำทันที และขณะที่ถ่ายน้ำ ออก 1 ใน 3 ส่วนของบ่อจะต้องเพิ่มน้ำใหม่แทนในปริมาณเท่าเดิมโดยใช้น้ำประปาที่เก็บไว้ประมาณ 2-3 วันหลังจากที่คอรีนระเหยแล้ว อย่าใช้น้ำประปาที่รองจากก๊อกใหม่ๆ หรือน้ำประปาที่เก็บไว้นานเพราะจะเกิดอันตรายต่อปลาได้

โรคและการรักษา

1.โรคโซโคลกิต้า เกิดจากการถ่ายน้ำในบ่อบ่อยครั้งเกินไป การย้ายปลาบ่อยครั้งเกินไป เชื้อโคลกิต้าที่อยู่ในน้ำจะทำลายปลา ทำให้เกิดเป็นแผลขุ่นที่ผิวหนังและตายไปในที่สุด

วิธีรักษา : ควรใช้เกลือป่นและด่างทัทิมละลายละลายให้เจือจางลงในน้ำ เพื่อฆ่าเชื้อโซโคลกิต้า ก่อนจะนำไปใช้เลี้ยงปลา สำหรับในรายที่ปลาเป็นโรคนี้ ให้แช่ปลาในน้ำยานี้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง

2.เหงือกเน่า เกิดจากเชื้อราคอลัม พาริส ทำให้ปลามีอาการซึม และกินอาหารได้น้อยลง ไม่มีแรงว่าย

วิธีรักษา : ใช้ยาปฏิชีวนะ ออริโอมัยซินผสมกับอาหาร ในอัตราส่วน 1 ช้อนต่ออาหารปลา 1 ขีด ให้ปลากินติดต่อกัน 3-4 วัน และจับปลาที่มีอาการมากในน้ำที่ผสมกับฟูราเนสเป็นเวลา 10 นาทีทุกวัน จนปลามีอาการดีขึ้น

3.หางและครีบเน่า เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในน้ำซึ่งเนื่องมาจากปลาขี้และเศษอาหาร ที่ตกค้างอยู่ในบ่อทำให้ครีบและปลายหางหลุดหายไป และจะลามไปทั่วตัว

วิธีรักษา : ต้องรีบถ่ายน้ำ ทำความสะอาดบ่อโดยเร็วพร้อมกันนั้น ใช้มาลาไคท์กรีนผสมกับน้ำในอัตรา 1 ขีด ต่อน้ำ 1 ลิตร จับปลาแช่ในน้ำดังกล่าวติดต่อกัน 3-4 วัน จนดีขึ้น

4.เนื้อแหว่ง เกิดจากปลาได้รับบาดเจ็บเพราะถูกหินหรือต้นไม้ในบ่อ จนเป็นแผลแล้วเชื้อโรคจากน้ำที่สกปรกเกาะตามผิวหนัง ทำให้เกล็ดหลุดแล้วมีจุดขาวๆ ตามลำตัวเกาะติดตามผิวหนัง ทำให้เกิดอาการอักเสบบวมเป็นรอยช้ำเลือด จนตายไปในที่สุด

วิธีรักษา : ใช้ยาปฏิชีวนะออริโอมัยซิน ผสมกับอาหารในอัตรา 1 ช้อนชา ต่ออาการ 1 ขีด ให้ปลากินติดต่อกันจนหายขาด

5.เชื้อราบนผิวหนัง เกิดจากเชื้อราแพร่กระจายบนผิวหนังปลา ทำให้เนื้อปลาเน่าเปื่อย ถ้าไม่รีบเร่งรักษาปลาจะตายเร็ววัน

วิธีรักษา : นำปลามาแช่ในน้ำที่เจือด้วยเกลือป่นจางเอาสำลีชุบน้ำยาฟูราเนสทำความสะอาด ที่บาดแผลแล้วจับปลาแช่ในน้ำผสมยา ฟูราเนสติดต่อกัน 5-7 วัน จนกว่าปลาจะหายขาด

6.ผิวหนังขุ่น เกล็ดพอง เกิดจากการที่ให้อาหารที่มีโปรตีนและไขมันมากเกินไป ปลาปรับตัวไม่ทัน จะทำให้ระบบย่อยอาหารของปลาไม่ทำงาน ตามผิวหนังจะเห็นรอยเส้นเลือดขอดขึ้น ผิวหนังเริ่มบวมและอักเสบ

วิธีรักษา : ต้องแช่ปลาในน้ำเกลือจางๆ และให้กินอาหารผสมด้วยยาปฏิชีวนะออริโอมัยซิน และให้กินอาหารประเภทผักเสริมมากกว่าเดิม

7.ลำใส้อักเสบ เกิดจากการที่ปลากินอาหารหมดอายุ มีเชื้อราปนอยู่ในอาหาร อาการเช่นนี้จทำให้ปลาไม่ค่อยกินอาหาร มีมูกเลือดปนออกมากับอุจจาระ บางครั้งจะถ่ายออกมาเป็นน้ำขุ่นๆ

วิธีรักษา : ต้องรีบทิ้งอาหารเก่าทั้งหมด เอาปาขึ้นมาแช่น้ำเกลือที่เจือจาง แล้วให้อาหารอ่อนๆ เช่น ลูกไรแดงหรือเนื้อปลาบดอ่อน แล้วค่อยให้อาหารสำเร็จรูปตามปกติ

8.เห็บ เกิดจากตัวที่ติดมากับอาหารประเภทผัก ซึ่งขาดการทำความสะอาดอย่างถูกต้อง และติดตัวมากับปลาตัวใหม่ ตัวเห็บนี้มักจะเกาะอยู่ใต้เกล็ดปลา ดูดเลือดปลาเป็นอาหาร ทำให้ปลาว่ายน้ำติดขัดไม่สะดวก ปลาจะเอาตัวถูตามผนังบ่อหรือเศษหินภายในบ่อ จนเกิดบาดแผลในเวลาต่อมา

วิธีรักษา : ใช้น้ำยามาโซเต็นผสมลงในบ่อเพื่อป้องกัน ทำลายตัวเห็บติดต่อกันราว 2-3 อาทิตย์ แล้วค่อยหยุดใช้ยา

9.หนอนสมอ ศัตรูร้ายอีกชนิดหนึ่งของปลาคือ หนอนรูปร่างคล้ายสมอ ยาวเหมือนเส้นด้าย มันจะเจาะผนังตัวปลาทำให้ติดเชื้อได้ และตามผิวหนังปลาจะมีรอยสีแดงเป็นจ้ำๆ ครีบและเหงือกจะอักเสบ ปลามีอาการซึมเบื่ออาหาร

วิธีรักษา : เช่นเดียวกับการรักษาเห็บ กล่าวคือ นำน้ำยามาโซเต็นผสมกับน้ำ จับปลาแช่น้ำยาทุกๆ 3 วัน จนกระทั่งปลามีอาการดีขึ้น และในบ่อเลี้ยงก็ควรหยดน้ำยานี้ลงฆ่าทำลายไข่ตัวหนอนสมอด้วย

10.พยาธิเส้นด้าย ติดมาจากอาหาร ลูกน้ำหนอนแดง ที่ปลากินเข้าไป จะเจาะเข้าไปเจริญเติบโตในตัวปลา และออกมาสร้างรังตามผิวหนังใต้เกล็ดปลา ทำให้ผิวหนังปลาแดงช้ำๆ

วิธีรักษา : ให้นำปลาไปแช่ในน้ำเกลือที่เจือจางประมาณ 1-2 วัน พยาธิก็จะตายและปลามีอาการดีขึ้นและควรใส่น้ำยามาโซเต็นผสมลงในบ่อ เพื่อฆ่าใข่ของมันด้วย

เม่นแคระ หรือ African pygmy hedgehog



เม่นแคระ

เม่นแคระ




เม่นแคระ หรือ African pygmy hedgehog
ปัจจุบันมีสัตว์มากมายหลายชนิดเข้ามาเพิ่มทางเลือกให้กับคนรักสัตว์รุ่นใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ดังนั้น สัตว์เลี้ยงของพวกจึงต้องมีวิธีการเลี้ยงไม่ยุ่งยาก และไม่ต้องการพื้นที่มากนัก แตกต่างไปจากสัตว์เลี้ยงพื้นฐาน เช่น สุนัข หรือแมว และหนึ่งในสัตว์เลี้ยงหน้าใหม่ที่ก้าวเข้ามาแบ่งปันความรักจากคนเลี้ยงสัตว์ไปไม่น้อยก็ได้แก่ เม่นแคระ หรือ African pygmy hedgehog

เม่นแคระ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่มีหนามแหลมทั่วลำตัว แต่สามารถจับสัมผัสได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกสลัดขนใส่หากจับอย่างถูกวิธี และมันไม่ต้องการการดูแลมากนัก อีกทั้งยังมีเสน่ห์เฉพาะตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการขดตัวม้วนกลมอันเป็นเอกลักษณ์น่ารักโดดเด่น ซึ่งเป็นการป้องกันตัวเองจากศัตรูนั่นเอง

อุปนิสัยของ เม่นแคระ

เม่นแคระ เป็นสัตว์สันโดษ ชอบอยู่ตัวเดียว และหวงถิ่น ดังนั้น ไม่แนะนำให้เลี้ยงรวมกัน ไม่เช่นนั้น เม่นแคระ อาจกัดกัดจนเสียชีวิตได้ หากเลี้ยงมากกว่า 1 ตัว ต้องแยกพื้นที่ในการเลี้ยงดูออกจากกันอย่างชัดเจน

เม่นแคระ จะตื่นในเวลากลางคืน และนอนตอนกลางวัน กิจกรรมทุกอย่างจึงถูกกระทำตลอดคืน เช่น เดินไปมาในกล่อง ยกถ้วยอาหารเล่น กัดกินอาหาร กินน้ำจากขวด ฯลฯ

เม่นแคระ ไม่ใช่สัตว์ที่มีนิสียชอบมาคลอเคลียกับผู้เลี้ยง และมันก็ไม่ฉลาดเหมือนสัตว์เลี้ยงยอดนิยมอื่น ๆ เช่น กระต่าย หรือแก๊สบี้

เม่นแคระ ที่มีขนแหลม ๆ ทั่วตัวนั้น อาจทำให้มือของคุณบาดเจ็บได้ หากจับไม่ถูกวิธี หรือทำให้เขาตกใจ หรือเม่นไม่มีความคุ้นเคยกับคุณ

เม่นแคระ มักจะกัดและเคี้ยววัตถุหรือสิ่งของแปลก ๆ ที่มันไม่กลิ่น จนเกิดเป็นฟองน้ำลาย แล้วนำฟองน้ำลายมาแปะติดไว้ตามตัว เพื่อจดจำกลิ่น หรือปรับตัวเองให้มีกลิ่นเหมือนสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยตามปกติ ดังนั้น ผู้เลี้ยงจึงควรระมัดระวังอย่าให้ เม่นแคระ ไปกัด หรือเคี้ยววัตถุมีพิษ

สีของเม่นแคระ

เม่นแคระแต่ละสีที่นิยมเลี้ยงในปัจจุบันมีหลากหลายสี โดยแต่ละสีจะเห็นเด่นชัดในช่วงวัยที่ต่างกันและไม่แน่นอน และเม่นแคระแต่ละสีนั้นก็มีราคาซื้อขายตามท้องตลาดแตกต่างกันด้วย เริ่มตั้งแต่ตัวละ 650 บาท จนถึงหลักพัน โดยสีที่ราคาสูงที่สุดคือ สีแอพริคอท ราคาตั้งแต่ 1,500-2,000 บาทขึ้นไป

สีนอมอล-ขนหนามพาดด้วยสีดำ ผิวหนัง ตา จมูก หู มีสีดำ คล้ำ

สีช็อกโกแลต-หนามพาดด้วยสีน้ำตาลเข้ม หน้า ผิวหนัง จมูก หู สีน้ำตาล ตาสีดำ

สีบราวน์-หนามพาดด้วยสีน้ำตาลอ่อน ตาสีดำ ส่วนอื่นเป็นสีน้ำตาลอ่อน

สีซินเนมอน-หนามพาดด้วยสีเทาน้ำตาล หน้าขาว ผิวหนังและหูสีชมพู ตาดำ หรือดำอมแดง จมูกสีตับอ่อน

สีซินนิคอท-หนามพาดด้วยสีเทาอมส้ม หรือน้ำตาลอมส้ม ผิวหนัง หน้า จมูก หูมีสีชมพู ตาดำ

สีแอพริคอท-หนามพาดสีส้ม หน้า ผิวหนัง จมูก หู มีสีชมพู ตาสีแดงเข้ม หรือสีทับทิม

สีอัลบิโน่-หนามสีขาวล้วนทั้งเส้นไม่มีสีอื่นปน ตาสีแดงใส ส่วนอื่นมีสีชมพู

เม่นแคระ กลุ่มสีพิเศษ อาทิ...

เอ็กซ์-สโนว์แฟลก โดยรวมจะดูเหมือนกลุ่มสีพื้นข้างต้น แต่จะมีหนามสีขาวทั้งเส้น ขึ้นแซมอยู่ทั่วทั้งตัว ประมาณ 30-70%

เอ็กซ์-ไวท์ โดยรวมจะดูเหมือนกลุ่มสีพื้นข้างต้น แต่จะมีหนามสีขาวทั้งเส้น ขึ้นแซมอยู่ทั่วทั้งตัวมากกว่า 95% (มักเรียกกันง่ายๆ ว่า "ขาวตาดำ")

เอ็กซ์-พินโต โดยรวมจะดูเหมือนกลุ่มสีพื้นข้างต้น แต่จะมีหนามสีขาวทั้งเส้น ขึ้นแซมอยู่เป็นกลุ่ม ๆ มีบริเวณ เป็นจุด ๆ

วิธีการเลี้ยงเม่นแคระ

สำหรับที่อยู่ของ เม่นแคระ ควรมีอุปกรณ์พื้นฐาน ได้แก่ บ้านหรือโพรงเป็นมุมมืดไว้ให้เม่นได้นอนกลางวัน, ถ้วยสำหรับใส่อาหาร, ขวดน้ำ, ขี้เลื่อยสำหรับรองพื้นกล่อง เพื่อช่วยดูดซับของเสียจากการขับถ่ายของเม่นแคระ (แนะนำให้ใช้เป็นแบบก้อนอัดแท่ง เพราะสะอาดและประหยัด), วิตามินผสมน้ำเพื่อช่วยเพิ่มเติมสารอาหารที่ขาดหายไป

ส่วนอาหารที่ใช้เลี้ยง เม่นแคระ แนะนำให้ใช้ อาหารแมว ไม่แนะนำให้ใช้อาหารสุนัข เพราะว่าเม็ดใหญ่กว่า และมีความแข็งมากกว่าอาหารแมว ทำให้เม่นแคระกัดกินลำบาก

อย่างไรก็ตาม เม่นแคระ ไม่ใช่สร้างที่เลี้ยงยาก เพียงแต่นักเลี้ยงเม่นแคระ มือใหม่ ส่วนใหญ่มักเลี้ยงไม่รอด เนื่องจากซื้อลูกเม่นที่ยังไม่หย่านมมาเลี้ยง เปอร์เซ็นต์รอดชีวิตจึงต่ำมาก ซึ่งวิธีการเลือกซื้อเม่นแคระ มาเลี้ยงนั้น ให้สังเกตการเดิน โดย เม่นแคระ ที่หย่านมแล้วจะเดินได้ถนัด ไม่คลานเตาะแตะ จมูกชื้น มีสุขภาพดี

นกกระตั้ว (Cockatoo)


ลักษณะและพฤติกรรมนกคอคคาทู (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)


"นกกระตั้ว" มีชื่อเป็นภาษามาเลเซียว่า "Cockatoo" แปลว่า พ่อเฒ่า หรือ คีมเหล็ก เนื่องจากความคมกริบของจะงอยปากของเจ้านกกระตั้ว แต่เมื่อได้รับการดูแลเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม จะรู้ว่าเจ้านกสังคมชนิดนี้มีความน่ารักเป็นที่สุดในบรรดาสัตว์ต่างๆ โดยนกกระตั้วนั้นถือได้ว่าเป็นนกที่ฉลาดและขี้เล่นเป็นอย่างมาก ทำให้มีผู้เลี้ยงนกชนิดนี้เพิ่มมากขึ้นเพราะหลงใหลไปความน่ารักของมัน

นกกระตั้วนั้นมีความแตกต่างจากนกแก้วในด้านรูปร่างลักษณะและพฤติกรรม ดังต่อไปนี้

รูปร่างและความแข็งแรงของจะงอยปาก
นกกระตั้วใช้จะงอยปากจิกที่ผิวหนังของมนุษย์ จะทำให้เกิดรอยถึง 3 จุดในครั้งเดียว โดย 2 จุดแรกจะเกิดจากจะงอยปากล่าง และอีก 1 จุด เกิดจากจะงอยปากบน และนกกระตั้วยังมีแรงกัดมากอีกด้วย ส่วนนกแก้วโดยทั่วไปจะไม่ซุกซนโดยใช้จะงอยปากเท่ากับนกกระตั้ว นกกระตั้วสามารถกัดจานอาหารพลาสติก และราวเกาะให้หักและขาดออกจากกันได้ นอกจากนี้มันยังสามารถงอซี่ของกรงและหักข้อต่อของกรงได้อีกด้วย ดังนั้นประตูกรงของนกกระตั้ว จึงต้องมีความแข็งแรงและปลอดภัย การเลือกข้อกรงที่มีความเหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นเบื้องต้นที่ต้องคำนึงถึงในการเลี้ยงนกกระตั้ว ควรหลีกเลี่ยงประตูที่สามารถเลื่อนลง เพราะขณะที่นกทำกิจกรรมต่างๆในกรงอาจทำให้อุปกรณ์ในการเปิดปิดทำงาน โดยประตูจะเลื่อนขึ้นและตกลงมาใส่ตัวนกทำให้นกเกิดอันตรายได้

นกกระตั้วเป็นนกที่ฉลาดและคล่องแคล่วเป็นอย่างมาก เราจึงไม่ควรวางใจในการใช้กรงทั่วๆ ไปที่มีขายตามท่องตลาด ซึ่งมีการปิดเปิดและอุปกรณ์ล็อกแบบธรรมดา เราควรเพิ่มอุปกรณ์พิเศษ เช่น คลิปสปริง เพื่อให้แน่ใจว่านกจะไม่สามารถเปิดประตูกรงหนีไป ขณะที่เราไม่อยู่บ้าน

ขนนก กระตั้ว

นกกระตั้วมักจะมีขนเพียงสีเดียว โดยทั่วไปแล้วจะเป็นสีขาวหรือสีดำ ซึ่งมีผงแป้งเคลือบขนอยู่ แสดงถึงสุขภาพขนที่ดี นกกระตั้วนั้นมีลักษณะพิเศษที่ต่างจากนกชนิดอื่นๆ คือจะมีหงอนที่สามารถขยับได้ โดยหงอนนั้นจะมีลักษณะตามชนิดของนกกระตั้ว เช่น หงอนที่โค้งไปด้านหลัง หรือหงอนที่โค้งไปด้านหน้า

นอกจากนี้ นกกระตั้วยังมีขนแก้มซึ่งเมื่อลุกตั้งชันจะปกคลุมจะงอยปากและหูที่ซ่อนอยู่จนเกือบมิด ซึ่งเป็นการแสดงออกทางใบหน้าอย่างหนึ่ง ด้วยเหตุนี้เอง นกกระตั้วจึงเป็นหนึ่งในบรรดาที่มีนกที่มีการแสดงออกทางใบหน้ามากที่สุด โดยการแสดงออกทางใบหน้าของกระนกกระตั้ว Moluccan ตัวผู้ ไม่ว่าจะเป็นหงอน ขนใบหน้าและหูทั้งสองนั้นอาจเกิดขึ้นถึงครึ่งหนึ่งของความสูงของมัน

ความสามารถในการเลียนแบบ

นกกระตั้วเป็นนกที่พูดเก่ง มันมีความสามารถในการเลียนแบบคำพูด โดยมันมีทักษะในการเลียนแบบ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากมาจากความฉลาดของมันนั่นเอง นกกระตั้วยังสามารถถูกสอนให้เต้นรำตามจังหวะร้องเพลง เล่นโรลเลอเสก็ต หรือแม้แต่เล่นชักคะเย่อก็ได้

การปีนป่าย

นกกระตั้วเกือบจะทุกสายพันธุ์ มีความสามารถในการปีป่ายที่ยอดเยี่ยม เพราะฉะนั้นควรจะเอาสิ่งของต่างๆ มาให้นกปีนเล่นบ้าง

การพักผ่อนและการนอนหลับ

นกที่มีสุขภาพดีจะพักผ่อนและนอนหลับโดยยืนขาเดียว อีกขาหนึ่งก็จะซุกไว้ในขนของมัน จากนั้นมันจะสลัดขนที่ตัวให้ฟู แล้วมันก็จะหันหัวไปด้านหลังแล้วซุกหัวมันลงที่ขนด้านหลัง เมื่อมันหลับตา ตาของมันก็จะไม่ปิดสนิท






พฤติกรรมการกิน

นกกระตั้วจะใช้ปากและลิ้นของมัน ช่วยในการเอาเปลือกของเมล็ดพืช ผลไม้และผักออก เหมือนๆกับนกทั่วไป นกตัวใหญ่ส่วนมากแล้วจะใช้เท้าของมันเป็นเหมือนมือ ใช้ถือเศษอาหารแล้วส่งอาหารเข้าปาก เมื่อนกจะดื่มน้ำจะใช้จะงอยปากล่างตักน้ำ จากนั้นก็จะเงยหน้าเพื่อกลืนน้ำเข้าไป

การบินของนก กระตั้ว

นกกระตั้ว มีความสามารถในการบินที่ยอดเยี่ยม ถ้าเลี้ยงนกโดยมัดหรือผูกล่ามมันไว้ ต้องฝึกและคอยกระตุ้นให้นกกระพือปีกบ้างทุกวันจนกว่านกจะบินได้ การฝึกแบบนี้จะช่วยกระตุ้นให้นกเกิดการเผาผลาญอาหารและป้องกันโรคดึงขนตัวเอง และการส่งเสียงร้องมากเกินกว่าปกติ

การวิ่งและการกระโดด

พื้นที่ราบหรือมีหญ้าขึ้นปกคลุมดีสำหรับเท้าของนกกระตั้วเวลาพวกมันหาอาหารบนพื้นดิน สังเกตเห็นว่านกกระตั้วมักจะวิ่งเล่นอยู่ในสวนนกหรือในกรรรงของมันเอง เวลานกวิ่งมันก็จะตั้งตัวตรง และเมื่อเวลามันกระโดด ลำตัวและหงอนของมันจะตั้งตัวตรงด้วยเช่นกัน

การออกกำลังกาย


นกกระตั้วที่เลี้ยงโดยมัดเอาไว้ นกก็ยังสามารถขยับตัวหรือเคลื่อนไหวตลอดทั้งวัน ถ้าอยู่ในกรงพวกมันก็จะปีนป่ายและออกกำลังกายอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แต่ถ้าอยู่กลางแจ้งมันก็จะปีนป่าย คุ้ยเขี่ย กัดแทะของเล่นหรืออาหาร บินไปมา แต่ถ้าได้รับการฝึกนกก็สามารถเลียนแบบการกระทำต่างๆได้นกชนิดนี้มีชื่อเสียงมากทางด้านความคล่องแคล่วว่องไว มีนกกระตั้วหลายตัวที่สามารถถือของได้ ผลักรถของเล่นคันเล็กๆได้ กินอาหารจากช้อน และอื่นๆอีกมากมายที่นกสามารถทำได้

การคุ้ยเขี่ย

นกกระตั้วบางพันธุ์ชอบคุ้ยเขี่ย บนพื้น บนผ้า อย่างเช่น โซฟาหรือเก้าอี้ตัวที่ดูแน่นๆ พฤติกรรมแบบนี้ได้พัฒนาไปแล้ว เพราะพวกมันพบอาหารของตัวเองบนพื้น การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเป็นไปเพื่อการหาอาหาร จะเห็นว่านกมีจะงอยปากที่บางและจะงอยปากด้านบนยาวกว่าด้านล่าง ซึ่งเหมาะสมกับการขุดหาอาหารนั่นเอง

ความผูกพันต่อเจ้าของ

นกกระตั้วนั้นจะผูกพันกับผู้เลี้ยงมาก การแยกจากผู้เลี้ยงนั้นจะส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของนก ทำให้นกก้าวร้าว ผู้เลี้ยงจึงต้องให้ความสนใจเอาใจใส่ต่อนกเป็นประจำทุกวัน เมื่อนกกระตั้วผูกพันกับผู้เลี้ยงมากอาจก่อให้เกิดปัญหาดังนี้

ความก้าวร้าวของนกซึ่งเกิดจากความอิจฉาและหวงเจ้าของอาจส่งผลทำให้นกทำร้ายผู้อื่นได้ นกกระตั้วที่ติดเจ้าของมาก อาจไม่ยอมหาคู่และไม่สามารถผสมพันธุ์ได้




ความขี้เล่นและเสียงร้อง

นกกระตั้วเกือบทุกสายพันธุ์มีนิสัยขี้เล่นและมีความฉลาด นกกระตั้วสามารถเล่นเกมและออกกำลังกาย โดยการบิน การสะบัดตัว และสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆได้เอง โดยกิจกรรมเหล่านี้จะถูกปฏิบัติตลอดทั้งวัน โดยที่ผู้เลี้ยงไม่ขัดจังหวะ แต่จะมีการหยุดพักเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ทั้งนี้เพื่อว่านกจะมีภาวะทางอารมณ์คงที่ ขณะที่นกกำลังเล่นจะส่งเสียงร้องที่ดังมาก ซึ่งโดยมากนกสายพันธุ์นี้อาจเพิ่มความดังของเสียงร้องมากขึ้นได้

การอาบน้ำ

นกกระตั้วทุกตัวต้องอาบน้ำ มันจะกางปีกและแผ่ขนหาง ในขณะที่อาบน้ำมันจะบิดตัว หมุนตัวและตีปีก ด้วยเหตุนี้ขนของมันก็จะเปียกอย่างทั่วถึง

พฤติกรรมชอบความสบาย

เกาหัว นกจะใช้เท้าเกาหัวตัวเองในขณะที่มันก้มหัวลง นกบางตัวจะใช้กิ่งไม้ช่วยในการเกา นกมีพฤติกรรมแปลกอยู่บ้าง คือความลังเลทำอะไรช้า อาการเกาหัวดูเหมือนใครบางคนว่ายน้ำอยู่มากกว่า พฤติกรรมแบบนี้มักจะพบในนกที่ยังไม่มีคู่ บาทีมันก็จะจับคู่กันแล้วไซ้ขนให้กัน

การไซ้ขน นกกระตั้วจะไซร้ขนตัวเองวันละหลายครั้ง โดยใช้จะงอยปากดึงขนออกมาไซ้ที ละเส้นๆ การไซ้ขนเริ่มจากขนเส้นเล็กๆ ก่อน จากนั้นก็จะขัดขนส่วนหลักๆ ส่วนรองลงมาจนถึงขนที่หาง สุดท้ายจึงจะทำความสะอาดหัวและปาก